ข้อมูลจาก บริษัท คอปเปอร์ คราวน์ ระบุว่ามูลค่าตลาดเชนร้านกาแฟสดอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท แต่หากวิเคราะห์กันไปให้ถึงเนื้อแท้ นับรวมรายได้กลุ่มร้านกาแฟสด SME ที่เปิดกันเกลื่อนเมือง แน่นอนมูลค่าร้านกาแฟสดจะพุ่งทยานมากกว่า 15,000 ล้านบาท ชนิดที่ไปไกลทิ้งห่างพอสมควร
เหตุผลนี้เองที่ทำให้ไม่ว่าจะเป็น Inter Brand หรือ Local Brand ตลอดจนไปถึงกลุ่มคนที่อยากมีธุรกิจเล็กๆ เลือกที่จะลงทุนเป็นเจ้าของร้านกาแฟชิคๆ เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แถมกำไรต่อแก้วอยู่ในระดับที่สูง
ยิ่งเวลานี้เทรนด์ผู้บริโภคเริ่มพัฒนาเข้าสู่โหมดหลงไหลไปกับบรรยากาศร้านกาแฟจนกลายเป็น Third Place บ้านหลังที่สามของผู้บริโภค ที่ใช้พบปะพูดคุยสังสรรค์, หรือพักผ่อนนั่งชิลล์ๆ พร้อมกับดื่มดำไปกับรสชาติกาแฟสดคั่วบด
ตรงนี้เองที่ส่งผลให้ตลาดกาแฟ 3 in 1 ที่ชงดื่มในบ้านและในที่ทำงานได้ผลกระทบตลาดไร้ซึ่งการเติบโต จนทำให้ผู้นำตลาดกาแฟ 3 in 1 อย่าง NESCAFÉ เลิกผลิตกาแฟ 3 in 1 ที่อยู่ในตลาดนาน 20 ปี พร้อมกับผลิตกาแฟสำเร็จรูปสูตรใหม่ “เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู” ที่มีส่วนผสมกาแฟคั่วบดละเอียด
เมื่อหลักฐานชัดเจนแล้วว่าร้านกาแฟสดมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มเชนร้านกาแฟสดทั้ง สตาร์บัคส์,ทรู คอฟฟี่,คาเฟ่ อเมซอน และ คอฟฟี่ เวิลด์ เลือกที่จะขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงได้เกิดแบรนด์ร้านกาแฟหน้าใหม่ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เป็นการแข่งขันในถ้วยกาแฟที่อยู่ในรสชาติเข้มข้น ที่นี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าร้านไหน ? เลือกจะเสิร์ฟเมนูการตลาดอะไรให้ถูกใจผู้บริโภค
“สตาร์บัคส์” จะขายกาแฟแพงขึ้น ต้องเสิร์ฟอะไรที่มากกว่า “รสชาติ”
โดยวิถีของ “สตาร์บัคส์” คือการเปิดร้านกาแฟรูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า Starbucks Reserve Experience Store โดยปัจจุบันมี 3 สาขาคือ Siam Discovery, Central East Ville และล่าสุดคือ ศูนย์การค้า เกสร
“ร้าน Reserve จะเป็นร้านที่มีการนำเมล็ดพันธุ์กาแฟคุณภาพสูงที่หายากจาก 30 ประเทศทั่วโลก มาเสิร์ฟให้แก่ลูกค้า พร้อมกับมีเครื่องชงกาแฟหลากหลายและพนักงาน Coffee Master ที่นอกจากเป็นผู้ชงกาแฟแล้วนั้นยังให้ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์กาแฟต่างๆ ถือเป็นร้านที่ตอบโจทย์คอกาแฟแบบ Slow Life” เมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บอกถึงร้าน สตาร์บัคส์ ในรูปแบบ Reserve
แนวทางของ “สตาร์บัคส์” ชัดเจนว่าต้องการยกระดับถ้วยกาแฟตัวเองให้ดูมีความเป็น Premium และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้นไปอีกระดับ ด้วยการต่อยอดสร้างประสบการณ์การดื่มกาแฟที่เหนือชั้นแตกต่างและไม่เหมือนใคร
เมื่อขายความ “ต่าง” ทำให้ร้านรูปแบบ Reserve กล้าขายกาแฟราคาเริ่มต้น 160 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าร้านในรูปแบบปกติ แต่ด้วยการที่ทั้ง 3 สาขาถูกวางโลเคชั่นอยู่ในระดับ A + ซึ่งเป็นย่านที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง “สตาร์บัคส์” จึงมั่นใจว่าราคไม่ใช่ปัญหา ขอให้สามารถสร้างประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แตกต่าง ผู้บริโภคก็พร้อมจะจ่าย
Variety Platform อาวุทางการตลาดที่ขาดไม่ได้
ขณะเดียวกันหากสังเกตแพลตฟอร์มทางธุรกิจของ “สตาร์บัคส์” ที่เวลานี้ได้สร้างไว้หลายรูปแบบทั้งร้านธรรมดา, Green Store, Reserve และ Drive thru ที่รวมกันทั้งหมด 262 สาขาทั่วประเทศ
“18 ปีที่สตาร์บัคส์ทำธุรกิจในประเทศไทย เราไม่อยากให้ทุกร้านเหมือนกันหมด ทำให้ได้เห็นร้านหลายคอนเซ็ปต์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลาย”
เมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง ยังมองว่าในยุคที่การแข่งขันธุรกิจร้านกาแฟอยู่ในช่วงรสชาติที่เข้มข้น การจะใช้แค่ “จุดขาย” แค่เรื่อง Image ถ้วยกาแฟที่เหนือกว่าคู่แข่ง รวมไปถึงมาตราฐานกาแฟที่รสชาติเหมือนกันทุกแก้วทั่วโลกอาจดูจะไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นการสร้างรูปแบบร้านหลากหลายเพื่อจับทุกพฤติกรรมการดื่มกาแฟของผู้บริโภค ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธทางการตลาดที่ทรงพลัง
และไม่ใช่แค่นั้นแต่ในยุคนี้ การแข่งขันร้านกาแฟยังเต็มไปด้วยสารพัดโปรโมชั่นโดยเฉพาะรูปแบบซื้อ 1 แถม 1 แก้วดูจะเป็นโปรโมชั่นยอดฮิตที่สุด สังเกตจากที่หลายแบรนด์นิยมใช้กันเพื่อขับเคลื่อนยอดขาย
“สตาร์บัคส์” เองก็ใช้วิธีนี้อยู่บ่อยครั้งโดยล่าสุด ครบรอบ 18 ปีในการทำธุรกิจในไทยของ “สตาร์บัคส์” ให้สิทธิพิเศษสมาชิก My Starbucks Rewards Member ที่มีสมาชิก 680,000 ราย ได้รับสิทธิ์ซื้อเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ประเภทใดขนาดใดก็ได้ 1 แก้ว แถม 1 แก้ว
Branding + Variety Platform + Promotion น่าจะเป็นสูตรสำเร็จที่ทำให้ “สตาร์บัคส์” สามารถมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 10% และในปีที่ผ่านมายังสามารถเสิร์ฟกาแฟของตัวเองไปสู่กลุ่มลูกค้าสูงถึง 3.5 ล้านแก้ว/เดือน พร้อมกับตั้งเป้าในปี 2018 จะสามารถมีถึง 300 สาขาในประเทศไทย
แต่ก็ใช่ว่า “สตาร์บัคส์” จะอยู่ในสภาวะที่ไร้ซึ่งแรงกดดัน ถึงแม้กลุ่มลูกค้าหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ตัวเองคือกลุ่ม “วัยทำงาน” ที่มีกำลังซื้อ แต่กลับกลุ่มลูกค้า “วัยรุ่น” ต้องบอกว่า “ทรู คอฟฟี่” กลับทำได้ดีกว่า ซึ่งถือเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่ “สตาร์บัคส์” ต้องขบคิดในการดึงดูดให้กลุ่มวัยรุ่นหลงไหลในมนต์เสน่ห์ถ้วยกาแฟของตัวเอง
“คอฟฟี่เวิลด์” จากถ้วยกาแฟ Premuim ขอเป็น Younger
เหมือนอย่างที่ “คอฟฟี่เวิลด์” อีกหนึ่งร้านกาแฟที่ต้องการลูกค้ากลุ่มใหม่ “วัยรุ่น” เพิ่มมากขึ้น จากแต่เดิมฐานลูกค้าหลักคือกลุ่มเริ่มต้นวัยทำงาน
ทำให้ First Step แรกในปีนี้ คือการปรับเปลี่ยนดีไซน์ร้านจากเดิมลุกซ์ Premuim แปรเปลี่ยนเป็น Loft Style ที่เน้นความเรียบเท่ห์โชว์ความเปลือยของวัสดุที่ผสมผสานระหว่าง อิฐ,ไม้,ปูน,เหล็ก
“ลูกค้าหลักเราคือวัยทำงานเริ่มต้น แต่ตอนนี้เราต้องการกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มนี้เริ่มเปลี่ยนชอบดีไซน์ร้านกาแฟที่ดูเรียบง่ายเก๋ๆ มากกว่าที่จะดูหรูหรา” ดาเรน ไวท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอฟเค คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของแบรนด์ “คอฟฟี่เวิลด์” บอกถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง
โดยต่อไปนี้ สาขาใหม่ๆ ของ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่จะเปิดในอนาคตจะใช้คอนเซ็ปต์ดีไซน์ Loft Style ในขณะที่สาขาเก่าจะค่อยๆ ทยอยปรับเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันหมด
จะไป 200 สาขาแบบ Hi-Speed ต้องไปด้วย “แฟรนไชส์”
โดยปัจจุบัน “คอฟฟี่เวิลด์” มีสาขาในประเทศไทย 100 สาขาโดยแบ่งเป็นลงทุนเอง 60 สาขา แฟรนไชส์ 40 สาขา โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 360 ล้านบาทเติบโต 10% และ “คอฟฟี่เวิลด์” นี้แหละที่เป็นแบรนด์หัวหอกสร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท GFK สูงถึง 80% จากทั้งหมดที่มีอยู่ในมือ 5 แบรนด์
เมื่ออยู่ในสถานะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ก็ย่อมจะต้องถูกขับเคลื่อนเป็นพิเศษทำให้ “คอฟฟี่เวิลด์” วางเป้าหมายว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2019 หรืออีก 3 ปีข้างหน้าจะต้องมี 200 สาขาในประเทศไทย โดยจะเน้นวิธีการขายแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายสาขาไปที่ 200 แห่งทั่วประเทศ
โดยเงินลงทุนเริ่มต้นแฟรนไชส์อยู่ที่ 1.5 ล้านบาทซึ่งเป็นการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ โดยร้านจะมีขนาดพื้นที่ 40 -120 ตารางเมตร ภายใต้สัญญา 6 ปี โดยจะมีทีมงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้คำปรึกษาจนผู้ลงทุนสามารถทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
“ระบบแฟรนไชส์จะทำให้ธุรกิจคอฟฟี่เวิลด์เติบโตอย่างรวดเร็วและช่วยให้แบรนด์ขยายไปในวงกว้าง นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกที่จะดูแลกลุ่มนักลงทุนแฟรนไชส์เป็นพิเศษ”
เหตุผลที่ต้องใส่ความเข้มข้นเข้าไปสู่ถ้วยกาแฟให้มากขึ้นของ “คอฟฟี่เวิลด์” เพราะ ณ เวลานี้ตลาดร้านกาแฟยังคงเติบโตต่อเนื่องทุกปี ด้วยการมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันการแข่งขันที่รุนแรงก็ทำให้ถ้วยกาแฟที่ไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคก็ต้องสูญหายไปจากตลาดนี้อยู่ไม่ใช่น้อย
จึงไม่แปลกที่จะเห็นกลุ่มร้านกาแฟต่างแข่งขันกันด้วย บริการ,รสชาติของกาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆ ตลอดจนไปถึงการจัดเวลาช่วง Promotion ซื้อ 1 แถม 1 ที่แทบจะกลายเป็นโปรโมชั่นยอดนิยมที่ทุกร้านกาแฟต้องทำ
“การแข่งขันที่จะทำให้อยู่รอดและจะทำให้ธุรกิจร้านกาแฟเติบโตคือต้องสร้าง Loyalty ให้แก่กลุ่มลูกค้าตัวเองเพราะร้านกาแฟในยุคนี้มีให้เลือกมากมาย คอฟฟี่เวิลด์ เองก็ต้องการ Loyalty จากลูกค้าโดยปัจจุบันเรามีลูกค้าที่ถือบัตรสมาชิก 50,000 ราย และเมื่อถึงสิ้นปีนี้เราต้องการ 70,000 ราย”
ในขณะที่เส้นทางของ “สตาร์บัคส์” เลือกที่จะยกระดับถ้วยกาแฟของตัวเองจาก Premuim เขยิบไปสู่ Super Premuim ผิดกับเส้นทางของ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่เลือกจะทำให้ถ้วยกาแฟของตัวเองดูเด็กลง
แต่สิ่งที่ทั้งสองแบรนด์เหมือนกันคือยังคงเร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับสร้าง Palform ใหม่ๆ ให้แก่ตัวเองเหมือนอย่างล่าสุดที่ “สตาร์บัคส์” มีรูปแบบร้านใหม่ชื่อ Reserve และ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่เริ่มต้นไอเดียด้วยการขายกาแฟผ่านรถ Food Truck ที่เวลานี้กำลังทดลองตลาดด้วยรถเพียง 1 คัน
cr. marketeer
.
.
.
.
.
มาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในตำนานของเรา
COME AND BECOME ONE OF OUR LEGEND.
.
.
.
.
.
ถ้า…
คุณเปิดร้านกาแฟอยู่แล้ว
หรือ
อยากเปิดร้านกาแฟใหม่
.
Add Line คลิ๊ก
==> http://line.me/ti/p/%40theindiantea
.
.
.
.
.
.
PERFECT DESTINY INTERNATIONAL CO., LTD.
บริษัท เพอร์เฟกต์ เดสทินี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
เลขที่ 927/199 ซอยลาดพร้าว87 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
Website: http://www.theindiantea.com/main/index.html#
Line Official ID : @theindiantea (0846825999)
โทร: 084-682-5999 , 092-369-3951
#ชาอินเดีย #กาแฟเปอร์เซีย #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซียแฟรนไชส์ #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซีย #แฟรนไชส์ #theindiantea #theindianteafranchise #franchisethailand #แฟรนไชส์เครื่องดื่ม #แฟรนไชส์กาแฟ #เปิดร้านกาแฟ #ธุรกิจร้านกาแฟ #ขายกาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟโบราณAdvertising
สงครามร้านกาแฟ เข้ม ! ยิ่งกว่าแบรนด์ ยิ่งกว่ารสชาติ
ข้อมูลจาก บริษัท คอปเปอร์ คราวน์ ระบุว่ามูลค่าตลาดเชนร้านกาแฟสดอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท แต่หากวิเคราะห์กันไปให้ถึงเนื้อแท้ นับรวมรายได้กลุ่มร้านกาแฟสด SME ที่เปิดกันเกลื่อนเมือง แน่นอนมูลค่าร้านกาแฟสดจะพุ่งทยานมากกว่า 15,000 ล้านบาท ชนิดที่ไปไกลทิ้งห่างพอสมควร
เหตุผลนี้เองที่ทำให้ไม่ว่าจะเป็น Inter Brand หรือ Local Brand ตลอดจนไปถึงกลุ่มคนที่อยากมีธุรกิจเล็กๆ เลือกที่จะลงทุนเป็นเจ้าของร้านกาแฟชิคๆ เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แถมกำไรต่อแก้วอยู่ในระดับที่สูง
ยิ่งเวลานี้เทรนด์ผู้บริโภคเริ่มพัฒนาเข้าสู่โหมดหลงไหลไปกับบรรยากาศร้านกาแฟจนกลายเป็น Third Place บ้านหลังที่สามของผู้บริโภค ที่ใช้พบปะพูดคุยสังสรรค์, หรือพักผ่อนนั่งชิลล์ๆ พร้อมกับดื่มดำไปกับรสชาติกาแฟสดคั่วบด
ตรงนี้เองที่ส่งผลให้ตลาดกาแฟ 3 in 1 ที่ชงดื่มในบ้านและในที่ทำงานได้ผลกระทบตลาดไร้ซึ่งการเติบโต จนทำให้ผู้นำตลาดกาแฟ 3 in 1 อย่าง NESCAFÉ เลิกผลิตกาแฟ 3 in 1 ที่อยู่ในตลาดนาน 20 ปี พร้อมกับผลิตกาแฟสำเร็จรูปสูตรใหม่ “เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู” ที่มีส่วนผสมกาแฟคั่วบดละเอียด
เมื่อหลักฐานชัดเจนแล้วว่าร้านกาแฟสดมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มเชนร้านกาแฟสดทั้ง สตาร์บัคส์,ทรู คอฟฟี่,คาเฟ่ อเมซอน และ คอฟฟี่ เวิลด์ เลือกที่จะขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงได้เกิดแบรนด์ร้านกาแฟหน้าใหม่ๆ ขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เป็นการแข่งขันในถ้วยกาแฟที่อยู่ในรสชาติเข้มข้น ที่นี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าร้านไหน ? เลือกจะเสิร์ฟเมนูการตลาดอะไรให้ถูกใจผู้บริโภค
“สตาร์บัคส์” จะขายกาแฟแพงขึ้น ต้องเสิร์ฟอะไรที่มากกว่า “รสชาติ”
โดยวิถีของ “สตาร์บัคส์” คือการเปิดร้านกาแฟรูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า Starbucks Reserve Experience Store โดยปัจจุบันมี 3 สาขาคือ Siam Discovery, Central East Ville และล่าสุดคือ ศูนย์การค้า เกสร
“ร้าน Reserve จะเป็นร้านที่มีการนำเมล็ดพันธุ์กาแฟคุณภาพสูงที่หายากจาก 30 ประเทศทั่วโลก มาเสิร์ฟให้แก่ลูกค้า พร้อมกับมีเครื่องชงกาแฟหลากหลายและพนักงาน Coffee Master ที่นอกจากเป็นผู้ชงกาแฟแล้วนั้นยังให้ความรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์กาแฟต่างๆ ถือเป็นร้านที่ตอบโจทย์คอกาแฟแบบ Slow Life” เมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด บอกถึงร้าน สตาร์บัคส์ ในรูปแบบ Reserve
แนวทางของ “สตาร์บัคส์” ชัดเจนว่าต้องการยกระดับถ้วยกาแฟตัวเองให้ดูมีความเป็น Premium และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้นไปอีกระดับ ด้วยการต่อยอดสร้างประสบการณ์การดื่มกาแฟที่เหนือชั้นแตกต่างและไม่เหมือนใคร
เมื่อขายความ “ต่าง” ทำให้ร้านรูปแบบ Reserve กล้าขายกาแฟราคาเริ่มต้น 160 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าร้านในรูปแบบปกติ แต่ด้วยการที่ทั้ง 3 สาขาถูกวางโลเคชั่นอยู่ในระดับ A + ซึ่งเป็นย่านที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง “สตาร์บัคส์” จึงมั่นใจว่าราคไม่ใช่ปัญหา ขอให้สามารถสร้างประสบการณ์การดื่มกาแฟที่แตกต่าง ผู้บริโภคก็พร้อมจะจ่าย
Variety Platform อาวุทางการตลาดที่ขาดไม่ได้
ขณะเดียวกันหากสังเกตแพลตฟอร์มทางธุรกิจของ “สตาร์บัคส์” ที่เวลานี้ได้สร้างไว้หลายรูปแบบทั้งร้านธรรมดา, Green Store, Reserve และ Drive thru ที่รวมกันทั้งหมด 262 สาขาทั่วประเทศ
“18 ปีที่สตาร์บัคส์ทำธุรกิจในประเทศไทย เราไม่อยากให้ทุกร้านเหมือนกันหมด ทำให้ได้เห็นร้านหลายคอนเซ็ปต์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลาย”
เมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง ยังมองว่าในยุคที่การแข่งขันธุรกิจร้านกาแฟอยู่ในช่วงรสชาติที่เข้มข้น การจะใช้แค่ “จุดขาย” แค่เรื่อง Image ถ้วยกาแฟที่เหนือกว่าคู่แข่ง รวมไปถึงมาตราฐานกาแฟที่รสชาติเหมือนกันทุกแก้วทั่วโลกอาจดูจะไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นการสร้างรูปแบบร้านหลากหลายเพื่อจับทุกพฤติกรรมการดื่มกาแฟของผู้บริโภค ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธทางการตลาดที่ทรงพลัง
และไม่ใช่แค่นั้นแต่ในยุคนี้ การแข่งขันร้านกาแฟยังเต็มไปด้วยสารพัดโปรโมชั่นโดยเฉพาะรูปแบบซื้อ 1 แถม 1 แก้วดูจะเป็นโปรโมชั่นยอดฮิตที่สุด สังเกตจากที่หลายแบรนด์นิยมใช้กันเพื่อขับเคลื่อนยอดขาย
“สตาร์บัคส์” เองก็ใช้วิธีนี้อยู่บ่อยครั้งโดยล่าสุด ครบรอบ 18 ปีในการทำธุรกิจในไทยของ “สตาร์บัคส์” ให้สิทธิพิเศษสมาชิก My Starbucks Rewards Member ที่มีสมาชิก 680,000 ราย ได้รับสิทธิ์ซื้อเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ประเภทใดขนาดใดก็ได้ 1 แก้ว แถม 1 แก้ว
Branding + Variety Platform + Promotion น่าจะเป็นสูตรสำเร็จที่ทำให้ “สตาร์บัคส์” สามารถมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 10% และในปีที่ผ่านมายังสามารถเสิร์ฟกาแฟของตัวเองไปสู่กลุ่มลูกค้าสูงถึง 3.5 ล้านแก้ว/เดือน พร้อมกับตั้งเป้าในปี 2018 จะสามารถมีถึง 300 สาขาในประเทศไทย
แต่ก็ใช่ว่า “สตาร์บัคส์” จะอยู่ในสภาวะที่ไร้ซึ่งแรงกดดัน ถึงแม้กลุ่มลูกค้าหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ตัวเองคือกลุ่ม “วัยทำงาน” ที่มีกำลังซื้อ แต่กลับกลุ่มลูกค้า “วัยรุ่น” ต้องบอกว่า “ทรู คอฟฟี่” กลับทำได้ดีกว่า ซึ่งถือเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่ “สตาร์บัคส์” ต้องขบคิดในการดึงดูดให้กลุ่มวัยรุ่นหลงไหลในมนต์เสน่ห์ถ้วยกาแฟของตัวเอง
“คอฟฟี่เวิลด์” จากถ้วยกาแฟ Premuim ขอเป็น Younger
เหมือนอย่างที่ “คอฟฟี่เวิลด์” อีกหนึ่งร้านกาแฟที่ต้องการลูกค้ากลุ่มใหม่ “วัยรุ่น” เพิ่มมากขึ้น จากแต่เดิมฐานลูกค้าหลักคือกลุ่มเริ่มต้นวัยทำงาน
ทำให้ First Step แรกในปีนี้ คือการปรับเปลี่ยนดีไซน์ร้านจากเดิมลุกซ์ Premuim แปรเปลี่ยนเป็น Loft Style ที่เน้นความเรียบเท่ห์โชว์ความเปลือยของวัสดุที่ผสมผสานระหว่าง อิฐ,ไม้,ปูน,เหล็ก
“ลูกค้าหลักเราคือวัยทำงานเริ่มต้น แต่ตอนนี้เราต้องการกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มนี้เริ่มเปลี่ยนชอบดีไซน์ร้านกาแฟที่ดูเรียบง่ายเก๋ๆ มากกว่าที่จะดูหรูหรา” ดาเรน ไวท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอฟเค คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของแบรนด์ “คอฟฟี่เวิลด์” บอกถึงเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง
โดยต่อไปนี้ สาขาใหม่ๆ ของ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่จะเปิดในอนาคตจะใช้คอนเซ็ปต์ดีไซน์ Loft Style ในขณะที่สาขาเก่าจะค่อยๆ ทยอยปรับเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันหมด
จะไป 200 สาขาแบบ Hi-Speed ต้องไปด้วย “แฟรนไชส์”
โดยปัจจุบัน “คอฟฟี่เวิลด์” มีสาขาในประเทศไทย 100 สาขาโดยแบ่งเป็นลงทุนเอง 60 สาขา แฟรนไชส์ 40 สาขา โดยในปีที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 360 ล้านบาทเติบโต 10% และ “คอฟฟี่เวิลด์” นี้แหละที่เป็นแบรนด์หัวหอกสร้างรายได้หลักให้แก่บริษัท GFK สูงถึง 80% จากทั้งหมดที่มีอยู่ในมือ 5 แบรนด์
เมื่ออยู่ในสถานะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ก็ย่อมจะต้องถูกขับเคลื่อนเป็นพิเศษทำให้ “คอฟฟี่เวิลด์” วางเป้าหมายว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2019 หรืออีก 3 ปีข้างหน้าจะต้องมี 200 สาขาในประเทศไทย โดยจะเน้นวิธีการขายแฟรนไชส์เป็นกลยุทธ์หลักในการขยายสาขาไปที่ 200 แห่งทั่วประเทศ
โดยเงินลงทุนเริ่มต้นแฟรนไชส์อยู่ที่ 1.5 ล้านบาทซึ่งเป็นการลงทุนแบบเบ็ดเสร็จ โดยร้านจะมีขนาดพื้นที่ 40 -120 ตารางเมตร ภายใต้สัญญา 6 ปี โดยจะมีทีมงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้คำปรึกษาจนผู้ลงทุนสามารถทำธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
“ระบบแฟรนไชส์จะทำให้ธุรกิจคอฟฟี่เวิลด์เติบโตอย่างรวดเร็วและช่วยให้แบรนด์ขยายไปในวงกว้าง นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกที่จะดูแลกลุ่มนักลงทุนแฟรนไชส์เป็นพิเศษ”
เหตุผลที่ต้องใส่ความเข้มข้นเข้าไปสู่ถ้วยกาแฟให้มากขึ้นของ “คอฟฟี่เวิลด์” เพราะ ณ เวลานี้ตลาดร้านกาแฟยังคงเติบโตต่อเนื่องทุกปี ด้วยการมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันการแข่งขันที่รุนแรงก็ทำให้ถ้วยกาแฟที่ไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคก็ต้องสูญหายไปจากตลาดนี้อยู่ไม่ใช่น้อย
จึงไม่แปลกที่จะเห็นกลุ่มร้านกาแฟต่างแข่งขันกันด้วย บริการ,รสชาติของกาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆ ตลอดจนไปถึงการจัดเวลาช่วง Promotion ซื้อ 1 แถม 1 ที่แทบจะกลายเป็นโปรโมชั่นยอดนิยมที่ทุกร้านกาแฟต้องทำ
“การแข่งขันที่จะทำให้อยู่รอดและจะทำให้ธุรกิจร้านกาแฟเติบโตคือต้องสร้าง Loyalty ให้แก่กลุ่มลูกค้าตัวเองเพราะร้านกาแฟในยุคนี้มีให้เลือกมากมาย คอฟฟี่เวิลด์ เองก็ต้องการ Loyalty จากลูกค้าโดยปัจจุบันเรามีลูกค้าที่ถือบัตรสมาชิก 50,000 ราย และเมื่อถึงสิ้นปีนี้เราต้องการ 70,000 ราย”
ในขณะที่เส้นทางของ “สตาร์บัคส์” เลือกที่จะยกระดับถ้วยกาแฟของตัวเองจาก Premuim เขยิบไปสู่ Super Premuim ผิดกับเส้นทางของ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่เลือกจะทำให้ถ้วยกาแฟของตัวเองดูเด็กลง
แต่สิ่งที่ทั้งสองแบรนด์เหมือนกันคือยังคงเร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับสร้าง Palform ใหม่ๆ ให้แก่ตัวเองเหมือนอย่างล่าสุดที่ “สตาร์บัคส์” มีรูปแบบร้านใหม่ชื่อ Reserve และ “คอฟฟี่เวิลด์” ที่เริ่มต้นไอเดียด้วยการขายกาแฟผ่านรถ Food Truck ที่เวลานี้กำลังทดลองตลาดด้วยรถเพียง 1 คัน
cr. marketeer
.
.
.
.
.
มาและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในตำนานของเรา
COME AND BECOME ONE OF OUR LEGEND.
.
.
.
.
.
ถ้า…
คุณเปิดร้านกาแฟอยู่แล้ว
หรือ
อยากเปิดร้านกาแฟใหม่
.
Add Line คลิ๊ก
==> http://line.me/ti/p/%40theindiantea
.
.
.
.
.
.
PERFECT DESTINY INTERNATIONAL CO., LTD.
บริษัท เพอร์เฟกต์ เดสทินี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
เลขที่ 927/199 ซอยลาดพร้าว87 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
Website: http://www.theindiantea.com/main/index.html#
Line Official ID : @theindiantea (0846825999)
โทร: 084-682-5999 , 092-369-3951
#ชาอินเดีย #กาแฟเปอร์เซีย #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซียแฟรนไชส์ #ชาอินเดียกาแฟเปอร์เซีย #แฟรนไชส์ #theindiantea #theindianteafranchise #franchisethailand #แฟรนไชส์เครื่องดื่ม #แฟรนไชส์กาแฟ #เปิดร้านกาแฟ #ธุรกิจร้านกาแฟ #ขายกาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟสด #แฟรนไชส์กาแฟโบราณAdvertising